ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ มีกี่แบบ  (อ่าน 422 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ruataewada

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 132
    • ดูรายละเอียด
    • พระเครื่องเมืองไทย


ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ อย่างไร ให้ปลอดสารพิษ ลงทุนน้อย สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน SGE รวบรวมมาให้แล้ว ทั้ง วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม วิธีการในปลูก และ ชนิดของพืชที่เหมาะกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ รับรองว่า มือใหม่ก็ทำได้ ยิ่งมือเก๋า ก็ยิ่งทำได้สบาย หากอยากรู้ว่า มีวิธีการอย่างไรบ้างแล้วละก็ ตามมาดูกันเลย

ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน แต่จะใช้ น้ำ เป็นหลัก ผสมกับสารละลายที่มีธาตุอาหารเป็นแหล่งอาหารสำคัญของพืช ในการเจริญเติบโต โดยวิธีการปลูกพืชแบบนี้ถูกพัฒนาเรื่อย ๆ มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ก่อนที่จะเริ่มเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน โดยการปลูกผักแบบไฮโดรนิกส์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ

Nutrient Film Technique (NFT) : คือ การปลูกพืช โดยให้สารละลายที่มีธาตุอาหาร ผ่านรากพืชที่ปลูกบนราง ตามความลาดชันของรางปลูกอย่างช้า ๆ เป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตร พืชที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกในระบบนี้ ได้แก่ ผักกินใบจำพวกสลัด มีอายุประมาณ 45 – 50 วัน
Deep Flow Technique (DFT) : คือ การปลูกแบบลอยน้ำ โดยยกรางปลูกให้สูง เพื่อให้รากของพืชลอยในอากาศ ส่วนปลายรากนั้นอยู่ในรางปลูก ซึ่งมีสารละลายที่มีธาตุอาหารไหลผ่าน ผักที่นิยมปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่ ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม เป็นต้น
Dynamic Root Floating Technique (DRFT) : เป็นการปลูกพืชแบบน้ำเยอะ โดยนำแผ่นโฟมมาเจาะรู แล้วรองด้วยแผ่นพลาสติกใส่น้ำ โดยระบบนี้เหมาะสำหรับปลูกผักไทยเช่น ขึ้นฉ่าย กะเพรา ที่สุด ไม่เหมาะกับการปลูกพืชทรงพุ่มแบบผักสลัด เพราะแผ่นโฟมทำความสะอาดได้ยาก และอาจมีเชื้อโรคที่อยู่บนแผ่นโฟม ทำให้ใบของต้นพืชเน่าและเสียหายได้

วัสดุ – อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ปลูกผักไฮโดรนิกส์

1. โรงเรือน

โรงเรือน ไม่จำกัดขนาด จะเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่สำคัญคือ ควรตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง และ ถ่ายเทอากาศได้ดี ดังนั้น จึงควรมีลักษณะสูงโปร่งเป็นหลัก ที่สำคัญคือ ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ มีระบบไฟฟ้าในการช่วยควบคุมการจ่ายน้ำ ตลอดจนควรมีมุ้งเพื่อป้องกันแมลงและการกระแทกของน้ำฝนด้วย

2. ภาชนะที่ใช้ในการปลูก

การ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ ท่อ PVC มาเจาะรู แล้วใช้เป็นภาชนะสำหรับปลูก เพราะมีราคาค่อนข้างถูก ขนาดยาว สามารถเจาะรู ต่อทำระบบรางได้ง่าย แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ใช้โฟมมาเจาะรู แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะอาจมีเชื้อโรคที่อยู่บนแผ่นโฟม ทำให้ใบของต้นพืชเน่าและเสียหายได้

3. วัสดุที่ใช้ในการปลูก

วัสดุที่ใช้ในการปลูก ในที่นี้หมายถึง วัสดุอื่นที่จะมาแทนที่ดิน เพื่อช่วยให้รากและลำต้นของพืช สามารถเกาะหรือค้ำยันอยู่ในภาชนะสำหรับปลูกได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้ ทราย หินภูเขาไฟ เม็ดดินเผา หรือ ฟองน้ำ สำหรับค้ำยันพืชที่มีรากหรือลำต้นเตี้ย ส่วน เชือก ลวด ไม้ค้ำ จะเป็นวัสดุสำหรับผูกหรือมัด ให้พืชที่มีสำต้นสูง ทรงตัวอยู่ได้

4. เมล็ดพันธุ์ผัก

ควรเลือกชนิดของผักให้เหมาะกับระบบการปลูก เช่น ผักสลัด เหมาะกับ NFT ผักไทย เหมาะกับ DFT หรือ DRFT ที่สำคัญคือ ควรเลือกเมล็ดพันธุ์ของผักที่มีเปอร์เซ็นต์จะงอกสูง เพื่อให้เพาะปลูกได้ง่าย

5. น้ำสะอาด และ สารละลายที่มีธาตุอาหาร

ควรเตรียมน้ำสะอาด มีคุณภาพดี และ มีปริมาณเพียงพอต่อการปลูก รวมถึงสารละลายที่มีธาตุอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็น สารละลายเกลือ อนินทรีย์ต่างๆ เช่น โพแทสเซี่ยมฟอสเฟต โพแทสเซี่ยมไนเตรต ซึ่งจะให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซี่ยม แมกนีเซียม กำมะถัน แคลเซียม และ ธาตุเหล็ก

6. อุปกรณ์ในการเตรียมสารละลายที่มีธาตุอาหาร

สารละลายที่มีธาตุอาหาร เป็นวัตถุดิบสำคัญที่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโต จึงควรมีอุปกรณ์สำหรับเตรียมสารละลายที่มีธาตุอาหารโดยเฉพาะ เพื่อให้มีปริมาณเพียงพออยู่ตลอดเวลา โดยสิ่งที่ควรมีได้แก่ ถังใส่สารละลายธาตุอาหาร ถุงมือ เพื่อปรับหรือควบคุมสารละลายให้มีค่ากรดด่างสมดุล และ เครื่องชั่งวัดตวง สำหรับตวงปริมาณปุ๋ย หรือ สารอาหารต่าง ๆ

7. อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและควบคุมสารละลายที่มีธาตุอาหาร

อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและควบคุมสารละลายที่มีธาตุอาหาร ได้แก่ เครื่องมือตรวจวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของสารละลายธาตุอาหารพืช (pH meter) เครื่องมือตรวจวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหารพืช (EC meter) เพื่อให้สารละลายมีค่า pH และ ค่า EC ที่เหมาะสม ทำให้เวลาจ่ายน้ำไป ผักจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นได้อย่างเต็มที่

8. ระบบไฟฟ้าและปั๊มน้ำ

หากปลูกแปลงใหญ่ แล้วไม่ต้องการรดน้ำ เติมสารละลายที่มีธาตุอาหารด้วยตัวเองตลอดเวลา ควรมีระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถควบคุมการส่งน้ำ ไหลเวียนของน้ำให้ไหลไปตามรางปลูกได้อย่างทั่วถึง แต่หากปลูกเพื่อรับประทานภายในครอบครัว อาจไม่ต้องมีก็ได้

9. ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน

เนื่องจากแสงแดดในเมืองไทย ค่อนข้างร้อนจัด อาจส่งผลให้อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือน มีการผันแปรได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ จึงควรมีระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน เพื่อให้มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชตลอดเวลา

10. ห้องเย็นและระบบขนส่งที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้

เมื่อทำการเก็บเกี่ยว จนถึงเวลาเตรียมจัดส่งและวางขาย ควรมีห้องเย็น และ ระบบขนส่ง ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อทำให้ผักของคุณยังคงมีความสดใหม่ สามารถส่งตรงไปถึงผู้บริโภคได้อย่างมีคุณภาพ

แนะนำสำหรับคุณ  รั้วตาข่าย ตาข่ายถัก

ออฟไลน์ ruataewada

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 132
    • ดูรายละเอียด
    • พระเครื่องเมืองไทย

ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์บนที่รกร้าง ประหยัดภาษี แถมมีมูลค่า

1. ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง

สำหรับ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ปี 2565 นั้นนะคะ ทางกระทรวงการคลังได้เริ่มจัดเก็บภาษีแบบเต็มจำนวนเป็นปีแรก หลังจากที่ปรับลดกว่า 90% เป็นระยะเวลากว่า 2 ปีแล้วนั่นเองค่ะ ซึ่งอัตราการเก็บภาษีนั้นจะยังคงใช้เป็นอัตราเดิมของปี 2563 - 2564 ไปจนถึงปี 2566 เลยค่ะ ทั้งนี้ผู้ที่เสียภาษียังคงได้รับการบรรเทาภาระภาษีหลายกรณีดังนี้ค่ะ

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประกอบเกษตรกรรมได้รับยกเว้นภาษี
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท
กรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง ก็จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือไม่เกิน 10 ล้านบาท แล้วแต่กรณี จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่สำหรับบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท หรือเกิน 10 ล้านบาท แล้วแต่กรณี จะเสียภาษีเต็มอัตราเฉพาะส่วนที่เกินเท่านั้น
การผ่อนปรนภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีกรณีมีภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สูงกว่าค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่เคยชำระในปี 2562 จะบรรเทาภาระให้โดยเสียภาษีเท่ากับค่าภาษีปี 2562 บวกกับร้อยละ 75 ของส่วนต่างค่าภาษีปี 2565 กับปี 2562

โปรโมชั่นสำหรับคุณ รั้วตาข่าย ลวดหนาม

ที่มา genie-property.com

ออฟไลน์ ruataewada

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 132
    • ดูรายละเอียด
    • พระเครื่องเมืองไทย

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร

คือ ภาษีรายปีที่เก็บและคิดจากมูลค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่เราครอบครอง โดยมีองค์กรท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. เป็นผู้จัดเก็บ

โดยผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินต้องมีเงื่อนไขดังนี้

1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)

2. ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

ซึ่งกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 เป็นกฎหมายที่มาแทนที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับ ภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งซ้ำซ้อนกัน

ประเภทของภาษีที่ดิน 2566 แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ

1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย

3. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม

4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

โปรโมชั่นสำหรับคุณ รั้วตาข่าย ลวดหนาม

ที่มา www.kwilife.com