ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลสุขภาพ: กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)  (อ่าน 366 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 404
    • ดูรายละเอียด
กระเพาะอาหารอักเสบ (กระเพาะอักเสบ ก็เรียก) หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันได้แบ่งกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นชนิดเยื่อบุกร่อน (erosive gastritis) ชนิดเรื้อรัง (chronic/nonerosive gastritis) และชนิดจำเพาะ (specific types of  gastritis) โรคนี้พบได้ในคนทั่วไป พบมากในผู้ที่กินยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (ยาแก้ปวดข้อ) ดื่มสุราจัด และผู้สูงอายุ

สาเหตุ

1. กระเพาะอาหารอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน เยื่อบุกระเพาะอาหารจะมีลักษณะแดงและกร่อน เป็นแผลตื้น ๆ หลายแห่ง อาจมีภาวะเลือดออก จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า กระเพาะอาหารอักเสบชนิดเลือดออก (hemorrhagic gastritis) มักมีสาเหตุจาก

    ยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งแอสไพรินและยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์
    แอลกอฮอล์
    ภาวะร่างกายเครียดเฉียบพลัน เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวกรุนแรง บาดเจ็บรุนแรง การผ่าตัด ภาวะช็อก ภาวะไตวาย ภาวะตับวาย เป็นต้น
    พบร่วมกับโรคตับแข็งที่มีภาวะความดันในหลอดเลือดดำตับสูง (portal hypertension)

2. กระเพาะอาหารอักเสบชนิดเรื้อรัง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ วินิจฉัยจากการตรวจชิ้นเนื้อ แบ่งออกเป็น

ก. ชนิดเอ จะมีความผิดปกติตรงส่วนต้น (fundus) ของกระเพาะอาหาร มีสาเหตุจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง (autoimmune) มักมีภาวะโลหิตจางจากภาวะขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ร่วมด้วย เพราะไม่สามารถดูดซึมวิตามินชนิดนี้ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

ข. ชนิดบี จะมีความผิดปกติตรงส่วนปลาย (antrum) ของกระเพาะอาหาร แต่ก็อาจลุกลามไปทั่วกระเพาะอาหาร มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ชื่อ เฮลิโคแบกเตอร์ไพโลไร หรือ "เอชไพโลไร" (Helicobacter pylori/H.pylori) เชื้อนี้สามารถติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อ แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังจากเชื้อชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (แผลเพ็ปติก) และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

3. กระเพาะอาหารอักเสบชนิดจำเพาะ พบร่วมกับโรคต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อราหรือเชื้อไวรัสในผู้ป่วยเอดส์ การติดเชื้อวัณโรค ซิฟิลิส พยาธิ การถูกสารเคมี เป็นต้น

อาการ

มีอาการปวดแสบตรงใต้ลิ้นปี่ หลังกินอาหารอาจทุเลาหรือเป็นมากขึ้นก็ได้ หรือมีอาการจุกแน่นตรงใต้ลิ้นปี่หลังกินข้าว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือท้องเดินร่วมด้วย

ในรายที่เป็นชนิดเยื่อบุกร่อน อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ โดยจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ มักมีประวัติการกินยา ดื่มสุราจัด หรือมีภาวะเครียดก่อนมีเลือดออก

บางรายอาจไม่มีอาการแสดงจนกว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออก โลหิตจาง

ข้อมูลสุขภาพ: กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/expert-scoops