การแก้ปัญหาเรื่องเสียง ในบางครั้งสามารถนำ ฉนวนกันความร้อน มาประยุกต์ใช้แทน ฉนวนกันเสียงได้ แต่ก็ไม่ทุกครั้ง หรือทุกงานไป เพราะ ฉนวนกันเสียงมีตัวแปรที่ต้องพิจารณาคือค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) และค่า STC (Sound Transmission Class) ซึ่งสำคัญมากในการบอกว่า ฉนวนนั้นจะลดเสียงลงได้ประมาณเท่าไร แต่สำหรับฉนวนกันความร้อน ตัวแปรที่ต้องพิจารณาจะเป็นเรื่องของ Thermal Conductivity และ Density เป็นหลัก เพราะสองค่านี้สามารถนำมาคำนวณได้ว่า ความร้อนจะลดลงเหลือเท่าไรหากติดตั้งฉนวนไปแล้ว
แผ่นซับเสียง , แผ่นกันเสียง , แผ่นเก็บเสียง แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
แผ่นซับเสียง (sound absorption) และ แผ่นเก็บเสียง (acoustic board) จะใช้สำหรับ แก้ปัญหาเสียงก้อง และ เสียงสะท้อน ในห้องหรือในอาคาร มีหลักการทำงานคือยอมให้เสียงผ่านเข้ามาใน ฉนวนและดูดซับพลังงานเสียง นั้นเอาไว้ส่วนหนึ่ง เปรียบเสมือนกับเราเอาฟองน้ำซับน้ำที่หกลงบนโต๊ะ แต่สำหรับ แผ่นกันเสียง (soundproof) จะมีความแตกต่างตรงที่จะไม่ยอมให้เสียงผ่านไปได้ คล้ายกับการสาดน้ำใส่แผ่นพลาสติคที่น้ำจะกระเด็นกลับมา เป็นต้น
วัสดุดูดซับเสียง วัสดุซับเสียง วัสดุกันเสียง วัสดุเก็บเสียง มีอะไรบ้างที่นิยมกันในปัจจุบันนี้
วัสดุซับเสียง และ วัสดุกันเสียง ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภทที่เป็นไฟเบอร์ หรือเส้นใย อย่างเช่น ใยแก้ว และใยหิน ซึ่งจะมีความอ่อนนุ่มให้ตัวได้ และส่วนใหญ่จะไม่กันน้ำ กับอีกประเภทคือ วัสดุที่เป็นยาง หรือไวนิล ที่มีผิวเรียบ ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหา หากสัมผัสกับน้ำหรือของเหลว
ารดูดซับเสียงหรือการควบคุมเสียงสะท้อน (Sound Absorption)
การออกแบบห้องที่ต้องการลดเสียงสะท้อน เช่น ห้องประชุม, โรงละคร, โรงภาพยนตร์, ห้องบรรยาย, ห้องดูหนัง – ฟังเพลง, ห้องคาราโอเกะ หากมีเสียงสะท้อน หรือเสียงก้องเกิดขี้น จะทำให้ประสิทธิภาพของเสียงที่หูของผู้ฟังได้ยินอาจลดประสิทธิภาพลงไป ดังนั้นต้องออกแบบให้มีวัสดุที่สามารถดูดซับเสียงได้ดี เพื่อป้องกันเสียงที่มากระทบฝ้าเพดาน พื้น ผนัง โดยสามารถดูได้จากค่า NRC ซึ่งเป็นค่าที่ระบุความสามารถการดูดซับเสียงของวัสดุต่าง ๆ
คุณสมบัติที่น่ารู้ของ “ฉนวนกันเสียง ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://noisecontrol365.com/